Social Icons

Featured Posts

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีเว็บ 2.0 Drupal

Drupal ใช้สร้างเว็บไซต์และใช้ในการจัดการเนื้อหาทั่วไป จะรวมไปถึงการลงทะเบียนบัญชีผู้ใช้ การบำรุงรักษา การจัดการเมนู RSS  ปรับแต่งโครงหน้าและการบริหารระบบการติดตั้งหลักของ Drupal  เป็นโปรแกรม OpenSource Drupal รองรับการทำงานภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษกว่า 44 ภาษา และมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 350,000 บัญชี  Drupal ได้รับรางวัล Open Source CMS ของสำนักงาน Pack Publishing ในสาขา Overall Open Source CMS Award 2007 และ 2008
ข้อมูล ด้านเทคนิคของโปรแกรม Drupal

วิธีใช้ Drupal ตอนที่ 6 – วิธีติดตั้ง Modules

การเพิ่มฟังก์ชั่นให้กับ Drupal เราสามารถเลือกใช้งาน Modules ต่างๆ ตามที่เราต้องการ เพื่อเอามาปรับเสริมใช้งานในเว็บไซต์ของเรา เช่น ตัวเก็บสถิติคนเข้าชมเว็บไซต์, ตัวช่วยในการสร้าง URL alias แบบอัตโนมัติ หรือแม้แต่ Views ในส่วนของการแสดงข้อมูล เป็นต้น
การติดตั้ง Modules ทำได้ 2 วิธี คือ Upload และ Online

วิธีติดตั้ง Modules แบบ Upload

เริ่มต้นด้วยการค้นหาและดาวน์โหลดไฟล์ .tar.gz หรือ .zip จากเว็บ Drupal.org หรือจากที่อื่นๆ นำมาขยายไฟล์ออก แล้วนำมา Upload ผ่านโปรแกรม FTP เข้าสู่เซิร์ฟเวอร์

ค้นหา Modules ในเว็บไซต์ Drupal.org

ค้นหาตามหมวดหมู่ของ Modules หรือความนิยมของการใช้งาน จากเมนู Download & Extend
วิธีติดตั้ง Modules แบบ Upload

วิธีใช้ Drupal ตอนที่ 5 – สร้างและแก้ไข Basic page

Basic page ใน Drupal 7 คือหน้าเว็บเพจที่จะใช้งานในลักษณะหน้าเนื้อหาตายตัว ไม่อ้างอิงกับเวลา (ไม่เหมือนข่าว หรือเนื้อหาบล็อก) มักจะใช้ Basic page สำหร้าบหน้าที่เราไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเนื้อหาภายในบ่อย เช่น About us หรือหน้าประกาศโฆษณาพิเศษ เป็นต้น

สร้าง Basic Page ใหม่

การสร้าง Basic page ใหม่ ให้เลือกเมนู Add content และคลิกหัวข้อ Basic page
วิธีใช้ Drupal

วิธีใช้ Drupal ตอนที่ 4 – Taxonomy, Vocabulary & Terms

วนประกอบหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของการทำเว็บด้วย Drupal 7 คือการใช้งาน Taxonomy ที่ช่วยในการจัดระเบียบเนื้อหาว่าอยู่ในหมวดหมู่ไหนหรือมีเรื่องราวเกี่ยว กับอะไรบ้าง ตามคำอธิบายที่เขียนกำกับไว้ว่า Manage tagging, categorization, and classification of your content
การเข้าถึง Taxonomy เข้าผ่านทางเมนู Structure ในแถบ Toolbar (ด้านบนสุด สีดำ) และเลือกหัวข้อ Taxonomy
manage taxonomy in drupal 7

วิธีใช้ Drupal ตอนที่ 3 – แก้ไขเนื้อหาที่สร้างไปแล้ว

หลังจากที่เรารู้วิธีการสร้างเนื้อหาใหม่ใน Drupal 7 กันแล้ว ก็ต้องมีบ้างที่เราอาจจะสร้างผิด หรือพิมพ์อะไรในบทความผิด หรืออยากจะแก้ไขอะไรในเนื้อหาที่สร้างไปแล้ว ก็เลือกที่เมนู Content ในแถบ Toolbar ด้านบน จะมี List ของเนื้อหาที่เราเคยสร้างไว้ทั้งหมดปรากฎขึ้นมา
All content in drupal 7

วิธีใช้ Drupal ตอนที่ 2 – การสร้างเนื้อหา

ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างเนื้อหาใน Drupal 7 ต้องทำความเข้าใจลักษณะพื้นฐานของ Drupal เล็กน้อย กล่าวคือ เนื้อหา(เกือบ)ทั้งหมดที่เราเพิ่มเข้าไปในระบบ จะถูกเรียกว่า Node (โหนด) โดยแต่ละ Node จะเก็บข้อมูลพื้นฐานที่ประกอบด้วย Title (หัวข้อ) และ Body (รายละเอียด) ซึ่งเราสามารถเพิ่มช่องเก็บข้อมูลอื่นๆ ประกอบ Node ได้อีก (จะกล่าวถึง ในภายหลัง) โดยแต่ละโหนดจะถูกเรียกใช้ผ่าน URL path ของระบบ เช่น /node/1 เป็นต้น
basic node path in drupal 7
นอกจากนี้ ระบบ Node ใน Drupal 7 จะบันทึกผูกกับชนิดของเนื้อหา Content types อีกด้วย ซึ่งโดยค่าพื้นฐาน Drupal 7 จะกำหนดชนิดเนื้อหา Content types มาให้ 2 อย่าง

วิธีใช้ Drupal ตอนที่ 1 – Toolbar, Shortcut & Dashboard

วิธีใช้ Drupal 7 จะเปลี่ยนแปลงไปจากเวอร์ชั่น 6 พอสมควร เพราะมีส่วนของ Toolbar, ShortcutDashboard (แสดงผลแบบ Overlay) เพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยให้เราสามารถแยกการจัดการระหว่างหน้าบ้าน (หน้าแสดงข้อมูล) และหลังบ้าน (จัดการข้อมูลในระบบ) ซึ่งการที่เราจะเข้าถึงส่วนของ Toolbar, Shortcut และ Dashboard ได้นั้น เราสามารถเข้าได้โดย และ
ถ้าลง Drupal 7 แล้วยังไม่ได้เปลี่ยน Theme ในส่วนของหน้าแรก ทางซ้ายมือจะมีช่องสำหรับ Username และ Password
User login form on Left sidebar in Front page